แนะนำการดูแลรักษาระบบแก๊สรถยนต์แบบระบบหัวฉีด

การดูแลรักษารถติดแก๊สระบบหัวฉีดโดยทั่วไป

หลังจากผู้ใช้งานรถติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์แบบหัวฉีดไปได้สักระยะ ก็เริ่มจะต้องถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบแก๊สรถยนต์หัวฉีดกัน ซึ่งโดยหลักการทั่วไประบบแก๊สรถยนต์หัวฉีดจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ หลายส่วน โดยมีจุดสนใจที่เราต้องทำการตรวจสอบสอบความปลอดภัยดังนี้

  1. ECU/กล่องคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบแก๊สรถยนต์ ในส่วนนี้ถือเป็นหัวใจของระบบแก๊สเลยทีเดียว
    • เวลาที่สมควรได้รับการตรวจสอบคือ หลังติดตั้งเสร็จ, 5,000 กม. แรก และทุกๆ 30,000 กม.
    • กล่อง ECU มี 2 แบบคือ ECU แบบที่ไม่มี ODB และ ECU แบบมี ODB ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ECU กล่องควบคุมเชื้อเพลิง แก๊สแอลพีจี แบบที่มี ODB จะมีราคาที่สูงกว่า เนื่องจากความซับซ้อนในการออกแบบเพื่อเชื่อมต่อกับเซ็นต์เซอร์ในรถที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
    • ซึ่งจะแตกต่างกันในเรื่องของความละเอียดในการปรับแต่งระบบ รวมถึงความแม่นยำในการฉีดเชื้อเพลิงแก๊สแอลพีจีเข้าภายในห้องเครื่องได้อย่างสมบูรณ์แบบกว่า ทำให้การเผาไหม้พลังงานเชื้อเพลิงแก๊สแอลพีจีทำได้สมบูรณ์ ผลที่ได้ทำให้การควบคุมอุณหภูมิความร้อนในห้องเครื่องทำได้ดีกว่าในทุกจังหวะ
    • ในการติดตั้งไปในครั้งแรกเมื่อใช้ไปสักระยะ การเข้ารับการตรวจสอบและปรับแต่งครั้งที่ 2 เป็นสิ่งจำเป็น
      เมื่อใช้งานรถไปได้สักระยะกล่อง ECU จะมีการเก็บค่าเซ็นเซอร์ในระบบรถบางส่วน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปรับละเอียด fine tune ได้ดีขึ้น นอกจากการปรับจูนระบบแก๊สแล้ว ยังเป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยหลังติดตั้งอีกครั้งด้วย
  2. หม้อต้มแก๊ส คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนน้ำแก๊สที่ลำเลียงมาจากถังแก๊ส เมื่อน้ำแก๊สผ่านระบบความร้อนด้วยการวนน้ำจากเครื่องยนต์เข้ามายังหม้อต้มแก๊ส แก๊สจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวที่เป็นน้ำ กลายเป็นไอแก๊ส จากนั้นจึงทำการปรับระดับแรงดันให้เหมาะสม โดยหม้อต้มแก๊สที่พาวเวอร์แก๊สให้บริการมีทั้งมาตรฐาน ECR-67 และมาตรฐานใหม่ ECR-67-01 จุดที่ควรสังเกตุในการดูแลรักษาคือ
    • เวลาที่สมควรได้รับการตรวจสอบคือ หลังติดตั้งเสร็จ, 5,000 กม. แรก และทุกๆ 30,000 กม. ตรวจสอบเช็คการรั่วไหล และการถ่าย “ขี้แก๊ส” โดยหมุนน็อตด้านล่างหม้อต้มแก๊สออกเพื่อถ่าย “ขี้แก๊ส” มีลักษณะเป็นของข้นเหนียวสีน้ำตาลหรือดำออกไปทิ้ง
    • จุดท่อสายน้ำร้อน วนจากระบบระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ หรือจากหม้อน้ำรถในบางรุ่น วนเข้าไปยังหม้อแก๊สและย้อนกลับไปยังเครื่องยนต์หรือหม้อน้ำ
    • จุดเชื่อมต่อท่อแก๊ส แก๊สมีการเดินทางจากถังแก๊ส ผ่านวาล์วไฟฟ้า ผ่านสายท่อแก๊ส ผ่านกรองแก๊ส แล้วจึงเข้าหม้อต้มแก๊ส ออกจากหม้อต้มแก๊สแล้วจึงเข้าสู่รางหัวฉีด ซึ่งหัวฉีดถูกบังคับด้วยกล่องคอมพิวเตอร์ควบคุม/ECU บังคับการฉีดแก๊สเข้าสู่ห้องเครื่องต่อไป
  3. กรองแก๊ส อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดั่ง “ปอด” คอยกรองเอาเศษเหล็ก เศษสนิม สิ่งปลอมปนจากน้ำแก๊ส ป้องกันหัวฉีดแก๊สเสียหาย
    • ควรเปลี่ยนหลังจากมีอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 100,000 กม. หรือ 2 ปี หรือเร็วกว่านั้นขึ้นกับสภาวะแวดล้อมการใช้งาน
    • ถ้าไม่เปลี่ยนตามเวลาจะใช้ได้ไหม? หรือไม่เปลี่ยนก็ไม่เห็นเป็นไรเลย ขอชี้แจงว่าถ้ากรองไม่ตัน แรงดันแก๊สไม่ตกก็ใช้ได้ แต่โอกาสเสี่ยงก็มี แล้วแต่พิจารณาเจ้าของรถเลยครับ ว่าต้องการเสียแล้วเปลี่ยน หรือเปลี่ยนก่อนที่จะเสีย
    • ปั้มแก๊สที่เราไปใช้งาน หากปั้มแก๊สแอลพีจีที่เราไปใช้บริการมีการกรองน้ำแก๊สก่อนให้บริการเติมเข้าสู่ถังแก๊สรถของเรา หากแก๊สมีการเจือปนน้อย โอกาสที่กรองแก๊สตันเร็วก็จะน้อย อายุการใช้งานก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย หากปั้มไหนที่เราเติมประจำๆ แล้วเกิดการอุดตันที่กรองแก๊สบ่อยก็พิจารณาลองเปลี่ยนปั้มแก๊สขาประจำดีกว่า
    • การเกิดสนิมในถังแก๊ส การเติมแก๊สลงไปในถังแก๊สเป็นสภาพของเหลว ซึ่งการเติมแก๊สแต่ละครั้งย่อมต้องมีอากาศปนเข้าไปไม่มากก็น้อย หากเนื้อแก๊สน้อยกว่าอากาศ การผุกร่อนภายในถังย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งสนิมที่ผุกร่อนนี้ไหลตามท่อแก๊สไปยังกรองแก๊สก็ก่อให้เกิดโอกาสที่กรองแก๊สจะตันได้
  4. หัวฉีดแก๊สรถยนต์ รางหัวฉีด หรือหัวฉีดเดี่ยว
    • ควรปรับหรือเปลี่ยนหลังจากมีอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 300,000 กม. หรือ 3-5 ปี ขึ้นกับการใช้งานรถบางคันที่เป็นรถส่งของ Logistic บางครั้งต้องเปลี่ยนทุก 2 ปีเพราะใช้งานหนัก พิจารณาตามความเหมาะสม
    • หัวฉีดแก๊สรถยนต์ มักมีทั้งหัวฉีดเดี่ยว และหัวฉีดที่ติดบนรางหัวฉีดเดียวกัน
    • การปรับตั้งหัวฉีดจะมีทั้งการปรับตั้งระยะห่างเข็มฉีดแก๊ส การปรับเพิ่มขยายรูแก๊ส ซึ่งต้องทำด้วยช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น
  5. ถังแก๊ส
    • จากที่เคยอธิบายแล้วว่ามีโอกาสเกิดสนิมในถัง ควรเปลี่ยนถังแก๊สหลังจากมีอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 10 ปี เคยเห็นแท็กซี่ “บางคัน” ก็ใช้ถึง 20 ปีก็มี แต่สภาพภายนอกดูโทรมมาก ผ่าถังออกมาด้านในเป็นสนิมผุสภาพไม่น่าดูเลย
  6. วาล์วในส่วนต่างๆ ตั้งแต่
    • วาล์วเปิด/ปิดแก๊สจากถังแก๊สรถยนต์ หรือที่เรียกว่า Solenoid วาล์ว โดยรับสัญญาณสั่งงานจากกล่อง ECU มาเพื่อปิด/ปิดแก๊สจากถังแก๊ส
    • เช็ควาล์ว(One way Valve) หรือวาล์วกันแก๊สแอลพีจีไหลย้อนกลับ บังคับให้น้ำแก๊สเดินได้ทางเดียว
    • วาล์วกันแก๊สล้นตอนเติมแก๊ส หรือ OPD (Overfill Protection Device) วาล์ว ทำหน้าที่ป้องกันการเติมแก๊สเต็มถังแก๊สที่ 100% โดยบังคับให้เติมแก๊สได้ 85% ของถังแก๊สรถยนต์ โดยเมื่อเติมแก๊ส 85% แล้ว หากเกิดเหตุการณ์อากาศร้อนมาก หรือเกิดเพลิงลุกไหม้ แก๊สในถังจะขยายตัวและดันแก๊สออกยังวาล์วตัวนี้ จึงไม่ต้องกลัวว่าจอดรถตากแดด หรือเกิดเหตุรถชนกันแล้วถังแก๊สจะระเบิด
    • Excess Flow วาล์ว หรือวาล์วกันแก๊สรั่วไหลอย่างรวดเร็ว เช่นหากเกิดเหตุการณ์ที่ระบบเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่ กล่อง ECU จะยังไม่สั่งตัดแก๊สในถังผ่าน Solenoid วาล์ว แต่หากเกิดแก๊สรั่วที่สายแก๊สออกอย่างรวดเร็วเช่นสายท่อแก๊สขาดกระทันหัน Excess Flow วาล์วตัวนี้จะสั่งตัดแก๊สแทน
    • ในระบบ Multi วาล์ว หากเกิดปัญหา ไม่มีระบบไฟฟ้าจากกล่อง ECU จ่ายมา หรือ Solenoid วาล์ว มีปัญหา ก็จะมี Manual วาล์ว หมุนเพื่อเปิด/ปิดแก๊สแทนระบบไฟฟ้าได้
    • Safety วาล์ว
  7. ท่อแก๊ส มีทั้งแบบที่เป็นท่อยาง ทนทานแรงดันตามมาตรฐาน หรือจะใช้สายแบบ hi-end สายแบบ AUTOGAS ECE 67/110 ซึ่งมีการยืดหยุ่นสูง ดัดเป็นรูปต่างๆ ได้อย่างดี
  8. ข้อต่อ จุดเชื่อมต่อ ตรวจสอบการรั่วไหลของแก๊ส จากประสบการณ์ทั้งที่ซื้อเครื่องตรวจสอบการรั่วไหลของแก๊ส Gas Detector ผลปรากฎว่าการใช้ฟองสบู่หรือฟองผงซักฟอกสามารถตรวจสอบได้ละเอียดกว่า ดีกว่าแน่นอน
  9. มิเตอร์วัดระบบแก๊ส Level Gauge หรือมิเตอร์แก๊ส มีการเชื่อมต่อลูกลอยด้านในถัง แสดงผลผ่านการเหนี่ยวนำก้านแม่เหล็ก ดังนั้นมิเตอร์แก๊สตัวนี้จึงถอดออกได้โดยที่แก๊สไม่รั่วไหล ใช้ร่วมกับกล่อง ECU เพื่อแสดงผลด้วยหลอดไฟ LED ที่สวิทช์แก๊ส

หากมีข้อแนะนำเพิ่มเติมสามารถเมล์มาแจ้งปรับปรุงได้ที่ nhoi.n[at]hotmail.com ครับ