มาเปลี่ยนถังเป็นถัง 97 ลิตร ของเดิม 75 ลิตร น้อยไปหน่อย ใช้มาแล้ว 2 ปี คุ้มแล้วครับ
หน้าที่ของหม้อต้มแก๊สครับ
หม้อต้มแก๊ส ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อน โดยการถ่ายเทความร้อนจากน้ำที่วนอยู่ในระบบหม้อน้ำรถยนต์ ไปยัง แก๊สที่ไหลตามท่อมาจากถังบรรจุที่อยู่ท้ายรถโดยความร้อนที่ถ่ายเทไปยังแก๊สนั้น ทำให้แก๊สเกิดการลดแรงดันลง และเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอด้วย คือ
ถ้าเป็น LPG แก๊สที่เข้าหม้อต้มจะเป็นของเหลว แรงดันประมาณ 7 บาร์ เมื่อแก๊สออกจากหม้อต้มจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ โดยถ้า
– เป็นหม้อต้มสำหรับระบบดูด แรงดันทางออกจะเป็น 0 นั่นคือต้องอาศัยแรงดูด แก๊สจึงจะออกจากหม้อต้ม
– เป็นหม้อต้มสำหรับระบบหัวฉีด แรงดันทางออกจะเป็น 2 บาร์ นั่นคือ แรงดันเป็น + โดยเมื่อหัวฉีดสั่งเปิดแล้วแก๊สจะดันตัวเองออกไป
ถ้าเป็น NGV แก๊สที่เข้าหม้อต้มจะเป็นไอ แรงดันสูงมากประมาณ 20 บาร์ เมื่อแก๊สออกจากหม้อต้มก็ยังเป็นไออยู่เหมือนเดิม แต่ว่าแรงดันลดลงอย่างมาก คือ
– เป็นหม้อต้มสำหรับระบบดูด แรงดันทางออกจะเป็น 0 นั่นคือต้องอาศัยแรงดูด แก๊สจึงจะออกจากหม้อต้ม
– เป็นหม้อต้มสำหรับระบบหัวฉีด แรงดันทางออกจะเป็น 2 บาร์ นั่นคือ แรงดันเป็น + โดยเมื่อหัวฉีดสั่งเปิดแล้วแก๊สจะดันตัวเองออกไป
จริงๆแล้ว โดยส่วนตัวผมคิดว่า หม้อต้มเป็นเทคโนโลยีเก่า การทำงานไม่ได้ซับซ้อน จึงไม่ค่อยแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ ยกเว้นวัสดุที่นำมาใช้ผลิต ซึ่งบางยี่ห้อทำได้บอบบางจึงอาจไม่ค่อยทนทานนัก
ส่วนการที่ว่า จูนบาง หรือจูนหนา ก็ไม่เกี่ยวกับหม้อต้ม แต่เกี่ยวกับการจูนของช่างมากกว่า จึงไม่ควรโทษว่าหม้อต้มเป็นตัวปัญหาอย่างที่หลายคนเข้าใจครับ
ส่วนเรื่องหัวฉีด ถัง และอุปกรณ์อย่างอื่นของระบบแก๊สแล้วจะนำมาให้อ่านวันหลังครับ